เสาเข็มหกเหลี่ยม เหมาะใช้งานแบบไหน ดียังไง ข้อควรระวังในการใช้งาน

205

เสาเข็มหกเหลี่ยม เป็นเสาเข็มที่นิยมอีกชนิดหนึ่งเพราะมีขนาดเล็ก เบา สามารถใช้งานในพื้นที่แคบ ๆ สะดวก และรองรับน้ำหนักได้เป็นอย่างดี และสามารถใช้งานได้หลากหลาย

เสาเข็มหกเหลี่ยม ควรใช้กับงานลักษณะไหนบ้าง

งานที่ต้องรับน้ำหนักคานคอดิน

การก่อสร้างที่ไม่สามารถเจาะเสาเข็มเพื่อใช้ในการรับน้ำหนักคานคอดินได้ การใช้เสาหกเหลี่ยมประมาณ 4-5 ต้นมาตอกรวม สามารถรับน้ำหนักคานคอดินได้

งานปูพรม

การก่อสร้างเช่น ลานจอดรถ หรือพื้นโกดัง หรืออะไรก็ตามที่ต้องรับน้ำหนักมาก ๆ ทั่วทุกส่วน สามารถใช้เสาหกเหลี่ยมมาตอกให้เต็มพื้นที่

งานฐานเสารั้ว

การก่อสร้างที่ไม่สามารถตอกเสาเข็มขนาดใหญ่ได้ สามารถนำเสาหกเหลี่ยมรวมกันเพื่อเป็นฐานรองรับเสาสำหรับทำรั้ว จะแข็งแรงไม่ทรุด ไม่เอียงเมื่อเจอน้ำหนักของผนัง

ฐานงานต่อเติม

หากการต่อเติมอาคารตอกเสาเข็มได้ เพราะอาจจะทำให้อาคารเกิดการแตกร้าว หรือทรุดตัว การนำเสาหกเหลี่ยมมาตอกสามารถป้องกันการแตกร้าว และรองรับน้ำหนักป้องกันการทรุดของส่วนที่ต่อเติมได้

ข้อดีของ เสาเข็มหกเหลี่ยม

ขนาดเล็ก น้ำหนักเบา  – ด้วยความที่มีลักษณะรูกว้าง เบา จึงสามารถทำการขนย้ายได้ง่ายโดยใช้แรงคน แม้เป็นในพื้นที่แคบ ๆ จึงเหมาะกับการก่อสร้างที่อยู่ในซอยเล็ก ๆ ที่เสาขนาดใหญ่อาจเข้าถึงไม่ได้

ตอกง่าย – การตอกเสาเข็มชนิดนี้ไม่จำเป็นต้องใช้ปั้นจั่น หรือเครื่องจักรใหญ่ ๆ ในการตอก สามารถใช้แรงคน หรือเครื่องมือเล็กตอกได้เลย

ราคาถูก – หากเปรียบเทียบเรื่องราคาจะถูกกว่า เสาเข็มขนาดเล็กแบบอื่น ๆ ที่เรองรับน้ำหนักได้เท่ากัน

ข้อควรระวังในการใช้งาน เสาเข็มหกเหลี่ยม

ถึงแม้จะใช้งานง่าย น้ำหนักเบา มีความคล่องตัวสูง  แต่ด้วยความยาวที่มีเพียงแค่ 6 เมตร ทำให้มีข้อจำกัดในเรื่องการรับน้ำหนัก โดยข้อควรระวังในการใช้งานคือ

รับน้ำหนักได้น้อย – นั่นก็เป็นเพราะเสามีพื้นที่สัมผัสน้อย มีความลึกไม่มาก หากใช้เป็นเสาของอาคารหรือบ้านแล้วต้องใช้หลายต้นตอกรวมกัน

ห้ามเจาะวาง – เสาอื่น ๆ โดยปกติจะเจาะก่อนแล้ววางเสา แต่เสาหกเหลี่ยมหากต้องการให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดรองรับน้ำหนักได้มาก ต้องใช้วิธีตอกลงดินเท่านั้น เพราะหากเจาะตอกจะทำให้รับน้ำหนักได้ไม่ดี อาจจะทำให้อาคารทรุดตัวในภายหลังได้

ทั้งหมดนี้คือลักษณะการใช้งาน ข้อดี และข้อควรระวังของ เสาเข็มหกเหลี่ยม ซึ่งหากใครกำลังคิดจะใช้ในการก่อสร้างก็ควรต้องอยู่ในการคำนวณของผู้เชี่ยวชาญเพื่อดูถึงความเหมาะสม เพื่อให้โครงสร้างมีความแข็งแรงมากที่สุด นั่นเอง