รู้จัก “AR” จากมือถือสู่แว่น

205

การเติมแต่งเทคโนโลยีต่าง ๆ ด้วยรูปแบบ AR (Augmented Reality) ไม่ใข่เรื่องที่แปลกใหม่แต่อย่างไร เพราะแต่ไหนแต่ไรมาแล้ว AR จะเป็นระบบที่อิงกับมือถือสมาร์ทโฟน โดยเริ่มมาจากยุคแรก ๆ ที่เกิดขึ้นมาประมาณ 5 – 6 ปีที่แล้ว โดย AR ถูกออกแบบมาเพื่อใช้งานที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะผู้ผลิตขนมจากอเมริกา โดยคนที่จะใช้งาน จะต้องโหลดแอฟ AR เพื่อใช้งานในการสแกนไปยังซองขนมยี่ห้อนั้น ๆ โดยผลลัพธ์ก็คือจะสามารถเห็นตัวการ์ตูนกระโดดออกมาพร้อมกับขนมภายในซองต่าง ๆ

ต่อมาก็ได้รับการออกแบบเพื่อให้สามารถใช้ได้กับสมุดภาพ และหนังสือต่าง ๆ โดยผู้ที่จะอ่านจะต้องโหลดแอฟ AR เข้ามาเป็นส่วนประกอบในการใช้งานด้วย พอสแกนไปที่หนังสือแล้ว ก็จะเห็นสัตว์ที่อยู่ภายในหนังสือ หรือการ์ตูนต่าง ๆ มีภาพประกอบที่ซ้อนไปมาบนหน้าที่เรากำลังส่องนั่นเอง โดย AR ของรูปแบบการใช้งานผ่านมือถือ ที่ได้รับการพัฒนาต่อยอดอย่างไม่สิ้นสุด เพราะหลายฝ่ายคิดว่านี่คืออนาคตแห่งสื่อภายในอนาคตอีกหนึ่งช่องทาง จึงได้มีความพยายามในการพัฒนาระบบให้ออกมาในรูปแบบของ AR ที่ต่างออกไป นั่นก็คือ แว่น AR

ประโยชน์ของการใช้แว่น AR

สิ่งที่สามารถเห็นได้อย่างชัดเจนก็คือ ไม่จำเป็นต้องใช้มือถือเป็นตัวกลางในการใช้งาน เพราะแว่น AR จะสามารถเห็นกราฟฟิกทั้งหมดขึ้นมาทับซ้อนบนความเป็นจริงที่มอง หรือตั้งอยู่ข้างหน้า ไม่ว่าจะเดิน จะวิ่ง หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ก็สามารถใช้งานได้อย่างคล่องตัว และเมื่อใส่แว่น AR แล้ว ก็จะเหมือนกับว่ากำลังใช้งานอีกหนึ่งสิ่งที่เหมือนเป็นอีกโลกหนึ่ง โดยไม่สามารถมองเห็นสิ่งแวดล้อมจริงรอบตัวได้

ในระยะแรกของการพัฒนา ไม่ได้ถูกออกแบบเจาะจงว่าจะต้องเป็นแว่นเพื่อการใช้งาน AR เพราะแว่นก็จะยังคงสามารถใช้งานอื่น ๆ ทั่วไปได้ตามปกติ แต่เมื่อความนิยมในการใช้แว่น AR เริ่มมีขึ้นมาเรื่อย ๆ ก็ได้มีกลุ่มคนที่ทำการคิดค้น และประยุกต์การใช้งานของ AR ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ตัวอย่างเช่น บริษัทโบอิ้ง ที่ซื้อแว่น AR ไปให้พนักงานในแผนกซ่อมบำรุง ใช้ในขั้นตอนการซ่อมเครื่องยนต์ เพราะจะได้ทำการซ่อมเครื่องบินไปได้ ในขณะเดียวกัน ก็สามารถอ่านคู่มือ และขั้นตอนในการซ่อมที่แม่นยำไปด้วย โดยจะเป็นภาพซ้อนขึ้นมาต่อหน้าไปพร้อมกัน จะช่วยในการประหยัดเวลา ช่างจะได้ไม่ต้องซ่อมไปด้วย แล้วหยุดเพื่อมาเปิดคู่มือไปด้วย สลับกันไปมาให้เสียเวลา

จากเดิมที่เทคโนโลยี AR ถูกจำกัดอยู่แค่ภายในบนจอมือถือ และแท๊บเล็ต ก็ได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงมาให้ใช้งานได้อย่างเหมาะสมด้วยการใช้งานผ่าน แว่น AR ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางสำคัญ ที่หลายฝ่ายให้การยอมรับว่า นี่คือการพัฒนาในรูปแบบของการใช้งานภายในอนาคต โดยสุดท้ายแล้วคำตอบว่าจะดี หรือไม่ดี ผู้บริโภคคือคนตัดสินใจว่าเทคโนโลยีดังกล่าว จะสามารถใช้งานได้จริงในชีวิตประจำวันได้หรือไม่